
ใครบ้างที่ต้องเตรียมการอบรม จป.บริหาร ตามกฎหมายใหม่ 2566
ตามที่กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ข้อ 43 กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ซึ่งนับจากวันที่มีกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวประกาศออกมา
หลักสูตร เกี่ยวกับการอบรม จป บริหาร ให้อ้างอิง กฎหมาย เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร 2566
หลักสูตรการฝึกอบรม
หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระยะเวลาการฝึกอบรม สิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย
๓ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(๓) หมวดวิชาที่ ๓ ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
(ข) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงาน
(ค) ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของมาตรฐานประเทศไทยและสากล
(ง) การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
คุณสมบัติวิทยากร อบรม จป บริหาร
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการ
ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ได้กำหนดคุณสมบัติของวิทยากรไว้ว่า ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่บรรยาย มีประสบการณ์
ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้การนับระยะเวลา 5 ปี หรือ 3 ปี ให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง
- เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่
บรรยาย และมีประสบการณ์การสอนด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจากวันที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง
- เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาในการเป็นวิทยากรฝึกอบรมที่
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้ การนับระยะเวลา 5 ปี หรือ 3 ปี ให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง
- เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่บรรยาย
ทั้งนี้ ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี
นอกจากคุณสมบัติของวิทยากรที่กล่าวไปแล้วข้างต้นสามารถใช้ผู้ให้บริการฝึกอบรมเป็นผู้ฝึกอบรมได้แต่ต้องตรวจดูด้วยว่าผู้ให้บริการดังกล่าวมีคุณสมบัติตามที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมคุณสมบัติวิทยากรและการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหารกำหนดไว้หรือไม่
ซึ่งหากผู้ให้บริการฝึกอบรมได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องแล้วจะมีใบรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร (แบบกภ.จป.นบ 2) ซึ่งจะมีรายชื่อของวิทยากรระบุเอาไว้อย่างชัดเจนและมีระยะเวลาที่อนุญาตกำหนดไว้ด้วยซึ่งแบบกภ.จป.นบ 2 จะมีอายุ 3 ปีและต้องมีการต่ออายุตามระยะเวลาที่กำหนด
การดำเนินการฝึกอบรม
ในการดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร
ได้กำหนดรายละเอียดเอาไว้ดังนี้
- กรณีที่นายจ้างจัดฝึกอบรมเอง ให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับการ
ฝึกอบรมพร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนด ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนทำการฝึกอบรม
- กรณีผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม ให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับการ
ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือหลักฐานที่กำหนดต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนทำการฝึกอบรม
- ห้องฝึกอบรม 1 ห้อง ไม่เกิน 60 คน
- จัดให้มีคู่มือประกอบการฝึกอบรม จัดเตรียมอุปกรณ์ สื่อและเอกสารประกอบการฝึกอบรมและสถานที่ที่ถูก
สุขลักษณะให้มีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร
- มีการประเมินผลก่อนและหลังการฝึกอบรม
- ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองหลักสูตร เลขที่…”
- ชื่อและนามสกุลของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม
- ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการฝึกอบรม ให้ระบุข้อความ ดังนี้ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามข้อ 43 แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 จำนวน 12 ชั่วโมง” หรือ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ตามข้อ 43 แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 จำนวน 12 ชั่วโมง”
- ระบุสถานที่ในการฝึกอบรม
- ระบุวัน เดือน และปี ที่เข้ารับการฝึกอบรม
- ลงนามโดยนายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม แล้วแต่กรณี
- จัดให้วิทยากรได้รับการฝึกอบรมหรือมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
สรุป
นอกจากต้องจัดให้มีการฝึกอบรมแล้ว เมื่อดำเนินการฝึกอบรมเสร็จสิ้นต้องส่งรายงานผลการฝึกอบรม รายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และรายชื่อวิทยากร ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม ตามแบบรายงานผลการฝึกอบรม หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร (แบบ กภ.จป.นบ 3)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร
ลงทะเบียน อบรม จป บุคคลทั่วไป
สมัครอบรมได้แล้ววันนี้
