อบรม จป เทคนิค ตามกฎหมายใหม่เริ่มต้นอย่างไร
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือที่เราเรียกกันว่าจป. ซึ่งจป. มีอยู่หลายระดับด้วยกันแต่ละระดับจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไปซึ่งหน้าที่ได้ถูกกำหนดไว้ในกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 ถึงแม้ว่าหน้าที่ตามที่กฎกระทรวงกำหนดจะแตกต่างกันแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างทุกคนในสถานประกอบกิจการ
จป.เทคนิค คือใคร
จป.เทคนิค เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ ซึ่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดไว้ว่า นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน ต้องจัดให้ลูกจ้างอย่างน้อย 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 20 คน แต่ไม่ใช่ว่าใครจะเป็น จป.เทคนิคก็ได้ กฎกระทรวงฉบับนี้ยังได้กำหนดคุณสมบัติของ จป. เทคนิคไว้ด้วย ซึ่ง จป.เทคนิค ก็คือบุคลากรด้านความปลอดภัย ที่คอยดูแลความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างภายในสถานประกอบกิจการนั่นเอง
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น จป.เทคนิค จะต้องมีอะไรบ้าง
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น จป.เทคนิค ได้ถูกกำหนดไว้ในข้อ 15 ของกฎกระทรวงฉบับนี้ ว่าจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- ผ่านการฝึกอบรม จป เทคนิคหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
- เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
- มีคุณสมบัติตามข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี ซึ่งในส่วนของข้อ 18 ได้พูดถึงคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และข้อ 21 ได้พูดถึงคุณสมบัติของ จป.วิชาชีพ เอาไว้และนายจ้างต้องมีการแต่งตั้งพร้อมทั้งแจ้งชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงจะถือว่าเป็นจป.เทคนิคที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จป.เทคนิค มีหน้าที่อะไรบ้าง
นอกจากคุณสมบัติ จป.เทคนิค ที่ถูกกำหนดไว้ กฎกระทรวงฉบับนี้ ยังได้กำหนดหน้าที่ของ จป.เทคนิค ไว้อีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
- แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
- รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
นอกจากหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว จป.เทคนิค ก็ยังมีหน้าที่ด้านความปลอดภัยอื่นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับทุกคนที่เข้ามาภายในสถานประกอบกิจการ ไม่เพียงแต่ลูกจ้างเท่านั้น ยังรวมถึงลูกค้า supplier รปภ. คนสวน แม่บ้าน คนส่งของ ทุกคนที่เข้ามา ต้องปลอดภัย หากเราเป็น จป.เพียงคนเดียวของสถานประกอบกิจการ แน่นอนว่า ต้องดำเนินการอื่นเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมและป้องกัน ในเรื่องของสุขภาพของลูกจ้างด้วย เช่น
- รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ให้กับลูกจ้างทุกคน เพราะนอกจากอันตรายจากการทำงานแล้ว อันตรายนอกงานก็อาจเกิดขึ้นได้ จึงต้องรณรงค์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- กำหนดปัจจัยเสี่ยงในการตรวจสุขภาพ ให้กับพนักงาน
- ตรวจสอบการกระทำและสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน เพื่อแก้ไขและป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ
- อัพเดทกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นปัจจุบัน และ
หากพบว่า สถานประกอบกิจการต้องดำเนินการ ก็แจ้งให้ผู้บริหารทราบ เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามกฎหมาย
สรุป
ที่กล่าวมาข้างตนเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นจป.ระดับไหนหรือแม้แต่จป.เทคนิคเองนอกจากงานประจำที่ต้องทำแล้วยังต้องคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นและยังต้องคอยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆภายในสถานประกอบกิจการด้วยเพราะบางเรื่องจป.เองไม่สามารถแก้ไขปัญหาเพียงคนเดียวได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น
ลงทะเบียน อบรม จป บุคคลทั่วไป
สมัครอบรมได้แล้ววันนี้
