อบรม จป หัวหน้างาน ลด 50% หลักสูตร 2 วัน ตามกฎหมายใหม่ 2565

by admin

อบรม จป หัวหน้างาน
รับส่วนลด 50% โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ หัวหน้างาน ตามกฎหมายใหม่ 2565 พร้อมมอบวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรม

ดาวน์โหลดหลักสูตร Course Outline

25,000 บาท : รุ่น

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับ หัวหน้างาน ตามกฎหมายใหม่ 2565 

มอบวุฒิบัตร

อบรมเสร็จแล้วจะได้รับวุฒิบัติอย่างเป็นทางการสามารถนำไปขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการตามกฎหมาย

ลงทะเบียน อบรม จป บุคคลทั่วไป

สมัครอบรมได้แล้ววันนี้

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
7-8 พ.ค
จป หัวหน้างาน
10-11 มิ.ย
จป บริหาร
6-7 พ.ค
คปอ
9-10 พ.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

เมษายน – พฤษภาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
8-9 พ.ค
จป หัวหน้างาน
29-30 พ.ค
จป บริหาร
25-26 เม.ย
คปอ
29-30 เม.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
2-3 พ.ค
จป หัวหน้างาน
7-8 พ.ค
จป บริหาร
27-28 พ.ค
คปอ
16-17 พ.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

จป ปราจีน

เมษายน – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
26-27 เม.ย
จป หัวหน้างาน
21-22 มิ.ย
จป บริหาร
17-18 มิ.ย
คปอ
19-20 มิ.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

จป ชลบุรี

เมษายน – พฤษภาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
22-23 เม.ย
จป บริหาร
23-24 พ.ค
คปอ
24-25 เม.ย

ราคา : 2,000 บาท/ท่าน

อบรม-จป-โรงแรม-Moove Event-Centre

เมษายน – พฤษภาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
23-24 เม.ย
จป บริหาร
23-24 เม.ย
คปอ
25-26 เม.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
14-15 พ.ค
จป บริหาร
14-15 พ.ค
คปอ
16-17 พ.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

มิถุนายน – กรกฎาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จปหัวหน้างาน
8-9 เม.ย
จป บริหาร
24-25 มิ.ย
คปอ
26-27 มิ.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

* เนื่องจากมีผู้สมัครอบรมออนไลน์เป็นจำนวนมากทำให้แต่ละรุ่นที่นั่งเต็มอย่างรวดเร็ว ศูนย์ฝึกอบรมขอสงวนสิทธิ์ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่ชำระเงิน และ ยืนยันลงทะเบียนในระบบก่อน

** อบรม จป นำยื่นกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้

หลักสูตร จป หัวหน้างาน 2566 ตามกฎหมายใหม่ล่าสุด

โดยที่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔๓ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมวด ๑ หลักสูตรการฝึกอบรม

ข้อ ๒ หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา                     

(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงานและการจัดทำคู่มือว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ
(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงาน

(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ตารางแต่งตั้ง จป.com ตามกระทรวง 2565
ตาราง สัดส่วนการแต่งตั้ง คปอ ตามกฎกระทรวง จป.com

หลักสูตร

อบรม จป หัวหน้างาน

กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 

5/5

เทคนิคการเป็น

จป หัวหน้างาน มืออาชีพ

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ จป หัวหน้างาน

หัวข้อที่มีประโยชน์

บัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

จป หัวหน้างาน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  2. วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น จากการทำงานโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
  3. จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณีและทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกหกเดือน
  4. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  5. ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
  6. กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  7. รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้างและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
  8. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  9. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

  1. เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานของหน่วยงาน
  2. ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม
  3. มีหนังสือแต่งตั้ง หรือ หนังสือรับรองตำแหน่ง หัวหน้างาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

  1. เป็นลูกจ้างระดับบริหารของหน่วยงาน
  2. ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม
  3. มีหนังสือแต่งตั้ง หรือ หนังสือรับรองตำแหน่ง หัวหน้างาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
  2. เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานและผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
  3. เป็น หรือ เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง พ.ศ. 2540

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน

  1. เป็นคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน
  2. ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม

จป.หัวหน้างาน ในยุคปัจจุบันนั้น มีความแตกต่างกับสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามา ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานมากมาย เช่น สมัยก่อน จป.หัวหน้างาน หากจะทำการสื่อสารหรือรายงานจะต้องรอให้มีการประชุมความปลอดภัยในแต่ละเดือนจึงจะสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาแจ้งให้ที่ประชุมทราบ แต่ปัจจุบัน สามารถส่งข้อความทางไลน์ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอ และที่ดีไปกว่านั้นยังสามารถส่งรูปภาพต่างๆ วีดีโอ ให้เห็นภาพกันแบบเรียลไทม์กันเลยทีเดียว นี่คือสิ่งที่ จป.ทุกระดับ จะต้องทำการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่เช่นนั้นจะทำงานร่วมกับลูกน้องรุ่นใหม่ๆได้ลำบากมากขึ้น

คำว่าเทคนิคนั้นแปลว่าวิธีการกลวิธีเฉพาะซึ่งแต่ละคนย่อมมีเทคนิคในการทำงานที่แตกต่างกันออกไปเทคนิคการเป็นจป.หัวหน้างานก็เช่นกันในการทำงานด้านความปลอดภัยต้องมีเทคนิคอยู่ที่ว่าใครจะมีเทคนิคอย่างไรเพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จซึ่งในสังคมยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถสืบค้นข้อมูลที่อยากรู้ได้ทันทีซึ่งเราสามารถนำความทันสมัยนี้มาปรับใช้กับงานด้านความปลอดภัยได้เช่นกัน

อบรม จป หัวหน้างาน สอนการนำเทคโนโลยีต่างๆมาประยุกต์ใช้ในด้านความปลอดภัย

ในสังคมยุคปัจจุบัน คงไม่มีอาชีพไหน ที่ไม่ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน เพราะเทคโนโลยีนั้นเอื้ออำนวยทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ งานความปลอดภัยเองก็เช่นกัน หากเราเป็น จป.หัวหน้างานที่ล้าหลัง ไม่ทันเหตุการณ์ ก็อาจทำให้อะไรๆ มันสายเกินแก้ได้ ซึ่งเราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานด้านความปลอดภัยต่างๆ มากมาย เช่น

  • รายงานการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้ทันที ซึ่งหาก จป.หัวหน้างาน พบการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย แล้วถ่ายรูปหรือ VDO แจ้งให้ จป.บริหาร ทราบ เพื่อจะได้ตัดสินใจในการแก้ไขได้ทันที หรือใช้อำนาจในการสั่งหยุดงาน จนกว่าจะได้รับการแก้ไข ก็สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้
  • สืบค้นหาข้อมูล เกี่ยวกับมาตรฐานเครื่องจักรที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน กับหน้างานของเรา ซึ่งหาก จป.หัวหน้างานพิจารณาลักษณะการทำงานของพนักงานแล้ว พบว่าเครื่องจักรอยู่ในสภาพที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ก็สามารถสืบค้นหามาตรฐานเครื่องจักรที่ปลอดภัย ว่าต้องเป็นอย่างไร แล้วนำมาแก้ไขเครื่องจักรในหน่วยงานของตนเองให้มีความปลอดภัยได้เช่นกัน
  • ศึกษาวิธีการการสอบสวนอุบัติเหตุ โดยสืบค้นดูว่า แต่ละสถานประกอบกิจการใช้วิธีอะไรในการสอบสวนอุบัติเหตุเบื้องต้น เพราะการสอบสวนอุบัติเหตุเบื้องต้น เป็นหน้าที่ของ จป.หัวหน้างาน เพื่อเอามาปรับใช้ให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ
  • การนำเสนอในที่ประชุม ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะหาก จป.หัวหน้างานเอง ต้องการนำเสนอ ให้จป.บริหาร ทราบ โดยมีการถ่าย VDO เพื่อให้เห็นภาพหน้างานอย่างชัดเจน ย่อมทำให้การพิจารณาตัดสินใจเป็นไปได้ง่ายกว่าการที่มีแต่รูป เพราะทำให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว และหน้างานที่เหมือนจริง ส่งผลให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  • การส่งรายงาน สามารถส่งเป็นไฟล์ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอเจอตัวเป็นๆ ถึงจะยื่นเอกสารให้ ทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
  • และยังสามารถอัพเดทรายการกฎหมายใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยได้อีกด้วย

ข้อดีของเทคโนโลยีมีมากมายนั้นเราต้องเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ห้ามเอาไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกมากมายอยู่ที่ว่า ใครจะนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ซึ่ง จป.หัวหน้างาน ถือเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดพนักงาน และอยู่หน้างานมากที่สุด จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากต่อระบบความปลอดภัย ยิ่ง จป.หัวหน้างาน รายงานสิ่งผิดปกติได้รวดเร็วและแม่นยำเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เกิดความปลอดภัยต่อพนักงานมากเท่านั้น

ติดต่อ

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จํากัด

เลขที่: 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 ถนน วิภาวดี รังสิต, แขวง จอมพล, เขต จตุจักร, กรุงเทพฯ 10900

T. (064) 958 7451

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by จป.com