อบรม จป บริหาร 67

อบรม จป บริหาร
ตามกฎกระทรวง ปี 2565 รับส่วนลด 50%

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ บริหาร ตามกฎหมายใหม่ 2565 พร้อมมอบวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรม

ดาวน์โหลดหลักสูตร Course Outline

25,000 บาท : รุ่น

พร้อมจัดอบรมแบบอินเฮ้าส์ จำนวนผู้เข้าอบรมไม่เกิน 60 คน/รุ่น เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง 

มอบวุฒิบัตร

อบรมเสร็จแล้วจะได้รับวุฒิบัติอย่างเป็นทางการสามารถนำไปขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการตามกฎหมาย

ลงทะเบียน อบรม จป บุคคลทั่วไป

สมัครอบรมได้แล้ววันนี้

มิถุนายน – กรกฎาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
10-11 มิ.ย
จป หัวหน้างาน
11-12 ก.ค
จป บริหาร
6-7 มิ.ย
จป บริหาร
4-5 ก.ค
คปอ
12-13 มิ.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
29-30 พ.ค
จป หัวหน้างาน
10-11 มิ.ย
จป บริหาร
23-24 พ.ค
จป บริหาร
24-25 มิ.ย
คปอ
20-21 พ.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
4-5 มิ.ย
จป หัวหน้างาน
20-21 มิ.ย
จป บริหาร
27-28 พ.ค
จป บริหาร
26-27 มิ.ย
คปอ
16-17 พ.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

จป ปราจีน

มิถุนายน – สิงหาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
21-22 มิ.ย
จป หัวหน้างาน
21-22 ส.ค
จป บริหาร
17-18 มิ.ย
จป บริหาร
19-20 ส.ค
คปอ
19-20 มิ.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

จป ชลบุรี

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
17-18 พ.ค
จป บริหาร
23-24 พ.ค
คปอ
21-22 มิ.ย

ราคา : 2,000 บาท/ท่าน

อบรม-จป-โรงแรม-Moove Event-Centre

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
20-21 พ.ค
จป บริหาร
20-21 พ.ค
คปอ
23-24 พ.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

พฤษภาคม – มิถุนายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
11-12 มิ.ย
จป บริหาร
14-15 พ.ค
คปอ
16-17 พ.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

มิถุนายน – กรกฎาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จปหัวหน้างาน
28-29 มิ.ย
จป บริหาร
24-25 มิ.ย
คปอ
26-27 มิ.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

* เนื่องจากมีผู้สมัครอบรมออนไลน์เป็นจำนวนมากทำให้แต่ละรุ่นที่นั่งเต็มอย่างรวดเร็ว ศูนย์ฝึกอบรมขอสงวนสิทธิ์ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่ชำระเงิน และ ยืนยันลงทะเบียนในระบบก่อน

** อบรม จป นำยื่นกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้

หลักสูตร จป บริหาร เรียนอะไรบ้าง

หัวข้อที่ใช้อบรม จป บริหารของเราเป็นไปตาม กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ระบุว่าหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ระยะเวลา การฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

เกี่ยวกับ ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร โดยจะใช้เวลาอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

เกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยฯ ในการทำงาน โดยจะใช้เวลาอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

เกี่ยวกับ ระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน โดยจะใช้เวลาอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยเนื้อหา

(ก) แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
(ข) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงาน
(ค) ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของมาตรฐานประเทศไทยและสากล
(ง) การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน

ซึ่งใน 3 หมวดวิชานี้เราจะเน้นเนื้อหาของหมวดที่ 3 ใช้เวลาอบรมถึง 6 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นทักษะความรู้ที่ จป บริหารต้องใช้ในการทำงานจริง

เข้าอยรมเนื้อหาหละกสูตร จปบริหาร

ซึ่งใน 3 หมวดวิชานี้เราจะเน้นเนื้อหาของหมวดที่ 3 ใช้เวลาอบรมถึง 6 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นทักษะความรู้ที่ จป บริหารต้องใช้ในการทำงานจริง

หลักสูตร

อบรม จป บริหาร

กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 

5/5

เทคนิคการเป็น

จป บริหาร มืออาชีพ

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ จป บริหาร

หลักสูตรอินเฮ้าส์แนะนำ

เลือกอบรมจป คปอ ที่คุณสนใจเราพร้อมเดินทางจัดอบรมให้คุณถึงที่

หลักสูตรอินเฮ้าส์ จป หัวหน้างาน

จป.หัวหน้างาน

คอร์สอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน

อบรมจป บริหารแบบอินเฮ้าส์

จป.บริหาร

คอร์สอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

คปอ อินเฮ้าส์

คปอ.

คอร์สอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน

ใครบ้างที่ต้องเตรียมการอบรม จป ระดับบริหาร

คนที่ต้องทำการเข้าอบรมจป ระดับบริหาร ตามข้อกำหนดของกฎหมายมีดังนี้

  • เป็นพนักงานในองค์กร ที่อยู่ในระดับบริหาร เช่น ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ เป็นต้น
  • กรณีไม่มีพนักงานระดับบริหาร นายจ้างต้องเข้าอบรม จป. บริหารเอง

โดยต้องแต่งตั้งจป.บริหาร ภายใน 180 วันนับตั้งแต่พนักงานรับตำแหน่ง

คลิกรูปภาพเพื่อขยาย

เมื่อไหร่ต้องมี จป บริหาร

การที่องค์กรจะมีจปบริหาร หรือไม่ก่อนอื่นเลยต้องเริ่มจากดูประเภทองค์กรก่อน องค์กรของคุณจัดอยู่ในบัญชีที่ 1, 2 และ 3 หรือไม่หากอยู่คุณจำเป้นต้องแต่งตั้งพนักงานขึ้นมาเป็นตำแหน่ง จป บริหาร เมื่อพนักงานภายในองค์กรมีจำนวนตามกฎหมายกำหนดซึ่งจะแตกต่างไปตามประเภทบัญชี 

ประเภทองค์กร ในบัญชีที่แต่งกันมีความจำเป็นในการมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแต่ละระดับที่ต่างกัน ขึ้นกับความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานของธุรกิจประเภทนั้นๆ

หลังจากอบรมเสร็จต้องดำเนินการอย่างไร

นอกจากต้องจัดให้มีการฝึกอบรมแล้ว เมื่อดำเนินการฝึกอบรมเสร็จสิ้นต้องส่งรายงานผลการฝึกอบรม รายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และรายชื่อวิทยากร ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม ตามแบบรายงานผลการฝึกอบรม หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร (แบบ กภ.จป.นบ 3)

นายจ้างสามารถดำเนินการฝึกอบรมแบบใดบ้าง

ในการดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร กำหนดให้ห้องฝึกอบรมต่อรุ่น ไม่เกิน 60 คน มีการจัดทำคู่มือประกอบการอบรม เตรียมสื่ออุปกรณ์การสอนครบคัน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดดังนี้

กรณีนายจ้างจัดอบรมเอง

1. กรณีที่นายจ้างจัดฝึกอบรมเอง

ให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมพร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนด ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนทำการฝึกอบรม

กรณีผู้ให้บริการอบรม

2. กรณีผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม

ให้แจ้งกำหนดการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากร และเอกสารหรือหลักฐานที่กำหนดต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนทำการฝึกอบรม

ภาพบรรยายกาศอบรมจริง

ภาพจัดอบรม จป บริหาร ปี 2566-2567

ข้อมูลที่มีประโยชน์

บัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

  1. เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานของหน่วยงาน
  2. ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม
  3. มีหนังสือแต่งตั้ง หรือ หนังสือรับรองตำแหน่ง หัวหน้างาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

  1. เป็นลูกจ้างระดับบริหารของหน่วยงาน
  2. ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม
  3. มีหนังสือแต่งตั้ง หรือ หนังสือรับรองตำแหน่ง หัวหน้างาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
  2. เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานและผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
  3. เป็น หรือ เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง พ.ศ. 2540

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน

  1. เป็นคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน
  2. ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการ

ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ได้กำหนดคุณสมบัติของวิทยากรไว้ว่า ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่บรรยาย มีประสบการณ์

ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้การนับระยะเวลา 5 ปี หรือ 3 ปี ให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

  • เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่

บรรยาย และมีประสบการณ์การสอนด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจากวันที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

  • เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาในการเป็นวิทยากรฝึกอบรมที่

สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้ การนับระยะเวลา 5 ปี หรือ 3 ปี ให้นับจากปีที่ขอความเห็นชอบหรือขอรับการรับรอง

  • เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่บรรยาย

ทั้งนี้ ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี

นอกจากคุณสมบัติของวิทยากรที่กล่าวไปแล้วข้างต้นสามารถใช้ผู้ให้บริการฝึกอบรมเป็นผู้ฝึกอบรมได้แต่ต้องตรวจดูด้วยว่าผู้ให้บริการดังกล่าวมีคุณสมบัติตามที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมคุณสมบัติวิทยากรและการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหารกำหนดไว้หรือไม่

ซึ่งหากผู้ให้บริการฝึกอบรมได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องแล้วจะมีใบรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร (แบบกภ.จป.นบ 2) ซึ่งจะมีรายชื่อของวิทยากรระบุเอาไว้อย่างชัดเจนและมีระยะเวลาที่อนุญาตกำหนดไว้ด้วยซึ่งแบบกภ.จป.นบ 2 จะมีอายุ 3 ปีและต้องมีการต่ออายุตามระยะเวลาที่กำหนด

  • ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองหลักสูตร เลขที่…”
    • ชื่อและนามสกุลของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม
    • ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการฝึกอบรม ให้ระบุข้อความ ดังนี้ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามข้อ 43 แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 จำนวน 12 ชั่วโมง” หรือ “หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ตามข้อ 43 แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 จำนวน 12 ชั่วโมง”
    • ระบุสถานที่ในการฝึกอบรม
    • ระบุวัน เดือน และปี ที่เข้ารับการฝึกอบรม
    • ลงนามโดยนายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม แล้วแต่กรณี

โปรโมชั่นอบรม จป คปอ ลด 50%

เรียนรู้การปฏิบัติงานตริงของคปอ. และจป. ระดับหัวหน้างาน บริหาร พร้อมมอบวุฒิบัตรหลังจบการอบรม ลงทะเบียนจองวันนี้ลดทันที 50%

ติดต่อ

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จํากัด

เลขที่: 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 ถนน วิภาวดี รังสิต, แขวง จอมพล, เขต จตุจักร, กรุงเทพฯ 10900

T. (064) 958 7451

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by จป.com